วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

บทคัดย่อ ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กรของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ การพัฒนาการเรียนรู้ในองค์การของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ชื่อนักศึกษา นางสาวปรานี กล่อมธง
สาขาวิชา การจัดการธุรกิจ
มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.พยอม วงศ์สารศรี
ผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.บุษยา วงษ์ชวลิตกุล
นายวัลลภ เตียศิริ
ปีการศึกษา พ.ศ. 2549

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์การของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์การของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และพัฒนารูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์การที่สามารถเพิ่มพูนศักยภาพในการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In - Dept Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ข้ามชาติที่มาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย 6 บริษัท คือ 1. บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด 3. บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด 4. บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 5. บริษัท ออโต้ อลิอันซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด
ผลการวิจัยพบว่าสถานภาพและศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กลุ่มอุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์ยังมีศักยภาพสูง
แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กรของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมี 4 แนวทางคือ 1) การเสาะแสวงหาและสร้างความรู้ 2) การเก็บกักและประมวลข้อมูล 3) การแบ่งปันความรู้แก่กัน 4) การประยุกต์ความรู้
รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กรของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมี 5 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (Learning Systems) รูปแบบที่ 2 การเรียนรู้แบบ Collective - Integrated - Actionable Learning (CIA) รูปแบบที่ 3 การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) รูปแบบที่ 4 การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์/การทดลอง (Creative or Experimentation System) รูปแบบที่ 5 การเรียนรู้จากบุคคลอื่น (Learning From Others)
ผู้วิจัยเสนอรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์การที่สามารถเพิ่มพูนศักยภาพในการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในโมเดลที่ชื่อว่า “องค์กรอัจฉริยะ” (Intelligence Organization) “อัจฉริยะ” คือ “การมีความรู้และความสามารถ มากกว่าปกติ” บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะบรรลุความสำเร็จนั้นได้ ก็จะต้องมีทั้งความรู้ ฉลาดคิด ฉลาดฟัง และฉลาดทำ จึงจะ “เก่งจริง” หรือ “มีความสามารถเกินกว่าปกติ” องค์กรอัจฉริยะ (Intelligence Organization) เกิดจากองค์ประกอบต่อไปนี้ Integration การบูรณาการ, Nobility Learning การเรียนรู้ที่เหมาะสม, Team Learning เรียนรู้ร่วมกันในทีม, Experiential Learning การเรียนรู้จากประสบการณ์, Learning From Other การเรียนรู้จากบุคคลอื่น, Learning System การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ, Individual Learning การเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล, Generative Learning การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่, Employee Involvement การมีส่วนร่วมของพนักงาน, Normalization Learning การเรียนรู้ปทัสถานในการทำงาน, Continuous Improvement การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, Experimental Learning การเรียนรู้จากการทดลอง, Open Learning Opportunity การเปิดโอกาสในการเรียนรู้, Relatively; benchmarking การเทียบเคียง, Gathering and Collecting เรียนรู้จากหลายแหล่งในรูปแบบต่าง ๆ, Action learning : Actionable การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ, Notation Learning การเรียนรู้สังเกต จดจำ เอาใจใส่, Learn How to Learn เรียนรู้วิธีการเรียนรู้, Zealous Learning ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้, Attitude ทัศนคติ, Trust ความไว้วางใจ, Instructive Learning การเรียนรู้โดยมีผู้สอน,แนะนำ, Openness to Learning การสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้, Network Learning การเรียนรู้โดยเครือข่าย
จึงสรุปได้ว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ มีการบริหารความรู้ และก้าวไปสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ ซึ่งจะนำเอาพลังความคิดสร้างสรรค์ (Corporate Creativity) มาพัฒนาให้เกิดเป็นรูปธรรมขององค์กร ซึ่งก็คือ นวัตกรรม (Innovation) ในรูปของผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ (New Products/Services) รวมถึง คุณค่าสู่ลูกค้า (Value to Customer) เป็นสำคัญ